เรื่องควรรู้เกี่ยวกับน้ำมันเบรก (ต่อ)

เครื่องควรรู้เกี่ยวกับน้ำมันเบรก

จากตอนที่แล้ว เราได้พูดถึงหน้าที่ของน้ำมันเบรก และระยะการตรวจเช็คและการเปลี่ยนถ่ายกันไปแล้ว ในตอนที่ 2 นี้เรามาดู “ความสำคัญของการเปลี่ยนน้ำมันเบรกตามระยะ” กันครับ เพราะเชื่อว่า ผู้ใช้รถหลายๆ ท่าน ไม่ได้สนใจที่จะตรวจเช็คและเปลี่ยนน้ำมันเบรก หรือเลือกที่จะยังไม่เปลี่ยนน้ำมันเบรก แม้ว่าจะถึงกำหนดเวลาเปลี่ยนแล้วก็ตาม เพราะเห็นว่ารถของตนก็ยังเบรกได้ปกติดี ลองอ่านข้อมูลดังต่อไปนี้ก่อนนะครับ

สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเบรก ถ้าแบบสั้นๆ ง่ายๆ เลย ก็เพราะ น้ำมันเบรกมีการเสื่อมสภาพตามการใช้งาน นั่นเองครับ หากทำความเข้าใจลึกลงไปอีกสักหน่อย ก็ด้วยคุณสมบัติอันสำคัญของน้ำมันเบรก ได้แก่

  1. หล่อลื่นส่วนต่าง ๆ ในระบบเบรก เนื่องจากในระบบเบรกต้องมีการเสียดสีกันของลูกสูบ ลูกยาง ภายในแม่ปั๊มเบรก ลูกปั๊มเบรก นับครั้งไม่ถ้วน ถ้าปราศจากการหล่อลื่นก็จะทำให้เกิดการสึกหรอ และเกิดการรั่ว ที่เรารู้จักกันในคำว่า “เบรกแตก”
  2. มีจุดเดือดสูง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการ “น้ำมันเบรกเดือด” หรือ “Vapor lock” อย่างเด็ดขาด เพราะเมื่อน้ำมันเบรกเดือด จะมีฟองอากาศเกิดขึ้นในระบบเบรก ทำให้น้ำมันเบรกไม่สามารถถ่ายทอดกำลังในระบบเบรกได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะคุณสมบัติของอากาศนั้นสามารถยุบตัวได้ เมื่อเหยียบเบรกจะพบว่า แป้นเหยียบเบรกจมวูบลงไปจนไม่สามารถชะลอความเร็วหรือหยุดรถยนต์ได้ตามปกติ เกิดอาการเบรกไม่อยู่นั่นเอง
  3. เก็บกักความชื้น (น้ำ) ได้ดี ซึ่งน้ำมันเบรกจะดูดเอาความชื้นจากสิ่งแวดล้อมรอมๆ ตัวเข้ามาเรื่อยๆ จึงมีจุดเดือดต่ำที่ลงเรื่อยๆ เพราะน้ำมีจุดเดือดที่ 100 องศาเซลเซียส ซึ่งจะต่ำกว่าน้ำมันเบรกที่มีจุดเดือดอยู่ที่ 190- 200 องศาเซลเซียสขึ้นไป นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญอีกผลหนึ่ง ที่ทำให้ต้องเปลี่ยนน้ำมันเบรกตามเวลาหรือระยะทางที่กำหนด
  4. ไม่เป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนที่เป็นโลหะในระบบฯ หรือลูกยางต่างๆ เนื่องจากระบบเบรกเป็นระบบที่มีความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าการทำงานของชิ้นส่วนต่างๆ ในระบบไฮดรอลิกบกพร่องจะเกิดอันตรายอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเกิดสนิมในระบบสร้างแรงดัน หรือลูกยางในระบบเบรกเสื่อมสภาพ

คุณสมบัติพิเศษของน้ำมันเบรกที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น จะเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพลงตามระยะการใช้งาน ได้แก่ คุณสมบัติในการหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ จะลดลง จะมีจุดเดือดที่ต่ำลงเนื่องมาจากการดูดซับความชื้น รวมถึงตัวน้ำมันเบรกจะมีสภาพคล้ายยางเหนียวๆ และมีตะกอนแข็ง จับตามผนังของแม่ปั๊มเบรก และชุดตัวเรือนปั๊มเบรกที่ล้อ ทำให้อาจเกิดปัญหาน้ำมันเบรกรั่ว เบรกจม เบรกไม่ค่อยอยู่ รวมถึงชิ้นส่วนในระบบเบรกอาจเสียหายได้

เห็นมั้ยครับว่า การเปลี่ยนน้ำมันเบรกตามระยะ (จริงๆ ก็รวมถึงการซ่อมบำรุงรถยนต์ทุกส่วน) มีความสำคัญมากจริงๆ นอกจากจะมีผลต่อความปลอดภัยในการใช้รถโดยตรงแล้ว ยังมีผลต่ออายุการใช้งานของรถยนต์โดยรวมด้วยนะครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า