ขั้นตอนฟอกเกียร์-ฟลัชเกียร์อัตโนมัติ แบบละเอียดยิบ

how to transmission flush

ก่อนจะนำรถเข้าใช้บริการอะไร ท่านเจ้าของรถทุกท่านต้องอยากทราบอยู่แล้วว่าช่างจะทำอะไรกับรถบ้าง จะได้ตัดสินใจได้ถูกว่าจะนำรถเข้ารับบริการใช่มั้ยครับ ในบทความนี้ ACS จึงจะมาอธิบายถึง ขั้นตอนฟอก-ฟลัชน้ำมันเกียร์ อัตโนมัติกันอย่างละเอียดของศูนย์ MOTUL EVO by ACS กันครับสำหรับท่านที่ยังไม่ทราบว่า การฟอก-ฟลัชน้ำมันเกียร์อัตโนมัติคืออะไร เข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมที่บทความเรื่อง รู้ให้ชัด ฟอกเกียร์-ฟลัชเกียร์ออโต้คืออะไร? ได้เลยครับ

ส่วนแรก ที่ผู้ให้บริการต้องทำก่อนจะทำการฟอก-ฟลัชเกียร์ คือ การตรวจเช็คสภาพน้ำมันเกียร์และสภาพระบบเกียร์ครับ

การตรวจเช็คสภาพน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ เพื่อตรวจสอบ 2 ส่วน คือ ระดับน้ำมันเกียร์และความสกปรกของน้ำมันเกียร์

  1. ตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ของรถยนต์ว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม มีน้ำมันเกียร์ขาดหรือเกินหรือไม่ เพื่อในตอนทำการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ใหม่จะสามารถเติมได้อย่างเหมาะสม
    ตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์
    ตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์

    สำหรับรถที่ไม่มีก้านวัดระดับน้ำมันเกียร์ ต้องตรวจเช็คตามคู่มือการซ่อมบำรุงอย่างถูกวิธีของรถยนต์รุ่นนั้น ๆ

  2. ตรวจเช็คสภาพน้ำมันเกียร์ด้วยอุปกรณ์เฉพาะ โดยการดูดจากรถเพียงเล็กน้อย หลอดแก้วจะแสดงให้เห็นสภาพน้ำมันอย่างชัดเจนทั้งสี ความขุ่นใส ความข้นหนืด และยังสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้อย่างชัดเจนกับน้ำมันเกียร์ใหม่
    ตรวจเช็คสภาพน้ำมันเกียร์
    ตรวจเช็คสภาพน้ำมันเกียร์

    สำหรับรถที่ไม่มีช่องดูดน้ำมันขึ้นมาตรวจสอบ เราจะประเมินจากอายุการใช้งานของน้ำมันเกียร์ วิธีการเปลี่ยนถ่าย ประกอบกับสภาพการใช้งาน

ส่วนที่สอง ที่ต้องตรวจสอบก่อนให้บริการฟอก-ฟลัชเกียร์ คือ การตรวจเช็คสภาพระบบเกียร์

เพราะไม่ใช่ว่ารถทุกคันจะสามารถฟอก-ฟลัชเกียร์ได้ ที่ต้องพึงระวังเลยคือ รถที่มีอายุการใช้งานมาก เลขไมล์หลายแสนกิโล เกียร์เริ่มมีการทำงานที่ไม่ปกติ โดยช่างเทคนิคจะทำการทดลองขับ เพื่อดูในช่วงเปลี่ยนเกียร์ว่ารถมีอาการผิดปกติใด ๆ หรือไม่ อย่างไร อาการผิดปกติมักพบเจอ ได้แก่ มีการกระตุกตอนเปลี่ยนเกียร์, มีการกระตุกตอนลดความเร็ว, รถออกตัวช้าหรือมีแรงส่งน้อย ซึ่งช่างจะทำการประเมินอาการว่าสามารถทำการฟอก-ฟลัชเกียร์ได้หรือไม่ หรือต้องทำการซ่อมเกียร์ โอเวอร์ฮอลเกียร์ (Overhaul)

หลังจากตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการฟอก-ฟลัชน้ำมันเกียร์อัตโนมัติกันครับ

ขั้นที่ 1. เชื่อมต่อท่อน้ำมันเกียร์ของเครื่องฟอก-ฟลัชอัตโนมัติเข้ากับระบบเกียร์ของรถยนต์ และทดลองติดเครื่องยนต์เพื่อตรวจสอบความแน่นหนาและให้มั่นใจว่าไม่มีการรั่วซึมบริเวณข้อต่อ

เชื่อมต่อท่อน้ำมันเกียร์ของเครื่องฟอก-ฟลัชอัตโนมัติเข้ากับระบบเกียร์ของรถยนต์
เชื่อมต่อท่อน้ำมันเกียร์ของเครื่องฟอก-ฟลัชอัตโนมัติเข้ากับระบบเกียร์ของรถยนต์

ขั้นที่ 2. เปิดเครื่องเครื่องฟอก-ฟลัชอัตโนมัติ โดยเครื่องบางรุ่นใช้ไฟบ้าน บางรุ่นต่อไฟจากแบตเตอรี่รถยนต์ ทั้งนี้การใช้ไฟจากแบตเตอรี่ในขณะเครื่องทำงาน จะมีการติดเครื่องยนต์ด้วย จึงไม่ต้องกังวลว่าการใช้ไฟจากแบตเตอรี่จะส่งผลเสียใด ๆ

เปิดเครื่องเครื่องฟอก-ฟลัชอัตโนมัติ
เปิดเครื่องเครื่องฟอก-ฟลัชอัตโนมัติ

ขั้นที่ 3. ขั้นฟอกน้ำมันเกียร์ เป็นขั้นตอนการขจัดสิ่งสกปรกที่ตกค้างในระบบเกียร์

โดยจะติดเครื่องยนต์ แล้วกดเลือกโหมด ทำความสะอาด ที่เครื่องฟอก-ฟลัช เครื่องจะใช้แรงดันน้ำมันของรถในการพาน้ำมันเกียร์มาวนผ่านกรองที่เครื่องฟอก-ฟลัช น้ำมันเกียร์จะนำพาสิ่งสกปรก ตะกอน ผงผ้าคลัตช์ เศษเหล็กที่อยู่ในระบบเกียร์ออกมาดักจับที่กรอง ในช่วงดังกล่าวจะต้องมีช่างเทคนิค 1 คน เพื่อทำการเลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ของรถให้ครบทุกเกียร์ เพื่อให้น้ำมันไปพาสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ในจุดต่าง ๆ ออกมาด้วย การฟอกทำความสะอาดนี้จะทำจนกว่าน้ำมันจะมีความสะอาดมากขึ้น สังเกตได้จากช่องน้ำมันเกียร์เก่าที่แผงควบคุมของเครื่องฟอก-ฟลัช เราจะเห็นสภาพน้ำมันเกียร์ที่ไหลออกจากรถมาเข้าเครื่อง ระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 10-20 นาที ขึ้นอยู่กับความสกปรกของน้ำมันเกียร์

ขั้นฟอกน้ำมันเกียร์
ขั้นฟอกน้ำมันเกียร์

ขั้นที่ 4. ขั้นการฟลัชน้ำมันเกียร์ หรือการเติมน้ำมันเกียร์ใหม่นั่นเอง โดยเครื่องฟอก-ฟลัชจะดันน้ำมันเกียร์ใหม่ ที่เราเติมไว้ในเครื่อง เข้าไปดันน้ำมันเก่าออกจากระบบเกียร์ สำหรับปริมาณน้ำมันใหม่ที่ใช้เติมเข้าไป ขึ้นอยู่กับประเภทของรถ

  • รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ใช้น้ำมันเกียร์อัตโนมัติประมาณ 8-10 ลิตร
  • รถ SUV หรือรถกระบะ ใช้น้ำมันเกียร์อัตโนมัติประมาณ 10-12 ลิตร
ขั้นการฟลัชน้ำมันเกียร์
ขั้นการฟลัชน้ำมันเกียร์

ในขั้นตอนนี้ จะใช้โหมด เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ เพื่อดันน้ำมันเกียร์ใหม่เข้าไปในระบบ ส่วนน้ำมันเกียร์เก่าจะถูกดันออกมาเก็บในถังบรรจุภายในเครื่อง และเช่นเดียวกับขั้นตอนฟอกเกียร์ จะต้องมีช่างเทคนิค 1 คน คอยเข้าเกียร์ของรถให้ครบทุกเกียร์ เพื่อจะดันน้ำมันเก่าที่อยู่ในสมองเกียร์ออกมาด้วยนั่นเอง

ช่างสามารถสังเกตุสีน้ำมันที่แผงควบคุมของเครื่องฟอก-ฟลัช ตรงช่องน้ำมันเกียร์เก่า (น้ำมันเกียร์ที่ไหลออกจากรถมาเข้าเครื่อง) เทียบกับช่องน้ำมันเกียร์ใหม่ (น้ำมันเกียร์ใหม่ที่เติมเข้าไป) ซึ่งสีน้ำมันทั้ง 2 ช่องนี้จะต้องเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันที่สุดจึงจะถือว่าฟลัชชิ่งได้สมบูรณ์

สังเกตุสีน้ำมันที่แผงควบคุมของเครื่องฟอก-ฟลัช
สังเกตุสีน้ำมันที่แผงควบคุมของเครื่องฟอก-ฟลัช

ขั้นที่ 5. การตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนส่งมอบรถ

ทำการตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์อีกครั้งให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แล้วจึงทำการถอดข้อต่อของเครื่อง และต่อท่อน้ำมันเกียร์ในรถ ทำความสะอาดให้เรียบร้อย ตรวจเช็คการรั่วซึมและทดลองขับขี่ เพื่อเช็คความเรียบร้อยก่อนส่งมอบรถ

ระยะเวลาการให้บริการโดยรวมของการฟอก-ฟลัชน้ำมันเกียร์ อยู่ที่ประมาณ 30นาที ถึง 1 ชั่วโมงครับ

บทความต่อไป ACS จะมาลงลึกกันไปอีกบริการหนึ่ง ที่ผู้ใช้รถมักจะสอบถามเข้ามาพร้อมกับการฟอก-ฟลัชเกียร์ นั่นก็คือ การเปิดอ่างน้ำมันเกียร์ เพื่อทำความสะอาดและเปลี่ยนกรองเกียร์นั่นเอง รอติดตามตอนต่อไป เร็ว ๆ นี้ครับผม

สำหรับท่านที่สนใจรับบริการฟอก-ฟลัชน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ สามารถเข้าใช้บริการที่ศูนย์ MOTULEVO by ACS ดูรายละเอียดที่หน้าเว็บไซต์ MOTULEVO หรือสอบถามข้อมูลทาง Line @motulthailand หรือ เฟซบุ๊กของ ACS ได้เลยครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า