Motul เคยนำเสนอไปแล้วเรื่องการแก้ปัญหาหากพบว่า “น้ำมันเครื่องหาย” ซึ่งเป็นสัญญาณว่าชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ (Clearance) เริ่มมากขึ้น แสดงว่าค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องที่ใช้อยู่นั้นใสเกินไปควรขยับเบอร์น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดสูงขึ้นเพื่อลดช่องว่างของชิ้นส่วน
ครั้งนี้อยากชี้ให้เห็นอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นได้หากละเลยปล่อยให้น้ำมันเครื่องหายบ่อยๆ หรือปล่อยให้ระดับน้ำมันเครื่องต่ำกว่าที่ควรเป็นเวลานานโดยเฉพาะรถที่มีระยะการใช้งานค่อนข้างมาก เพราะการที่น้ำมันเครื่องหายยังส่งผลต่อ “แรงดันของน้ำมันเครื่อง” ด้วย
น้ำมันเครื่องเป็นสารหล่อลื่นที่อยู่ด้านใต้สุดของเครื่องยนต์คืออยู่ในอ่างน้ำมันเครื่อง การที่มันสามารถขึ้นไปหล่อลื่นชิ้นส่วนด้านบนทั้งกระบอกสูบหรือในส่วนของวาล์วที่อยู่ด้านบนสุดได้เพราะการทำงานของปั๊มน้ำมันเครื่องซึ่งแรงดันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำ น้ำมันเครื่องจะไม่สามารถขึ้นไปหล่อลื่นชิ้นส่วนได้อย่างทั่วถึง ลองคิดดูว่าถ้าปริมาณน้ำมันเครื่องก็ต่ำกว่าปกติด้วยและแรงดันน้ำมันเครื่องยังต่ำอีกประสิทธิภาพในการหล่อลื่นชิ้นส่วนจะแย่แค่ไหน เมื่อชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ได้รับการหล่อลื่นที่ดีพอการสึกหรอย่อมสูงกว่าปกติอย่างแน่นอน
การสึกหรอของเครื่องยนต์อาจยังไม่ส่งผลกระทบกับการใช้รถยนต์ในทันที รถยนต์ยังสามารถขับใช้งานต่อไปได้เหมือนปกติ แต่หากเป็นเครื่องยนต์ที่มีระบบอัดอากาศหรือเทอร์โบถ้าน้ำมันเครื่องไม่สามารถไปหล่อลื่นเทอร์โบที่หมุนในระดับ 180,000 รอบ/นาทีได้ดีพอคงไม่ดีแน่ๆ เพราะความเสียที่เกิดกับเทอร์โบจะเร็วกว่าเครื่องยนต์ซึ่งเป็นความเสียหายสะสมต้องใช้เวลากว่าจะเริ่มเห็นถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น ยกเว้นว่าสาเหตุของแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำมาจากปั๊มน้ำมันเครื่องเสีย กรองน้ำมันเครื่องหรือซีลรั่วซึ่งผู้ใช้รถจะพบความปกติได้ทันทีจากสัญญาณไฟเตือนรูปกาน้ำมันเครื่องสีแดงบนหน้าปัด
ไม่เพียงสาเหตุที่มาจากเบอร์น้ำมันเครื่องใสเกินไปจนทำให้น้ำมันเครื่องหายเท่านั้นที่อาจส่งผลถึงแรงดันน้ำมันเครื่องได้ หากใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพต่ำหรือน้ำมันเครื่องปลอมก็อาจมีปัญหาเรื่องแรงดันน้ำมันเครื่องได้เหมือนกัน ดังนั้นนอกจากเลือกใช้เบอร์น้ำมันเครื่องให้เหมาะสมกับสภาพหรืออายุการใช้งานของเครื่องยนต์แล้ว ต้องใช้น้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพซึ่งผ่านการรับรองตามมาตรฐานจากสถาบันปิโตรเลียมที่น่าเชื่อถือด้วย
น้ำมันเครื่อง MOTUL ผ่านมาตรฐานการรับรองทั้งจาก ACEA (Association of European Automotive Manufacturers) สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ในทวีปยุโรป และ API (The American Petroleum Institute) สถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกา ผู้ใช้สามารถสังเกตเครื่องหมายรับรองคุณภาพ “API โดนัท” ได้บนฉลากหน้าบรรจุภัณฑ์